Post Page Advertisement [Top]

วันนี้ขอพูดถึงเรื่องพื้นฐานของกลไลนาฬิกาซะหน่อย

เพราะหากเราดูแค่หน้าปัด เราก็อาจจะแยกไม่ออกว่ามูลค่าของนาฬิกาเรือนนั้นๆมันอยู่ที่ไหน กลไกที่ยิ่งซับซ้อน ราคาก็ยิ่งสูง โดยเฉพาะกลไลที่มี complication พิเศษๆเช่น Perpetual calendar (ปฏิทิน) / Chronograph (จับเวลา)

ปัจจุบันกลไกนาฬิกามีอยู่ 3ประเภทด้วยกัน

1.  Quartz (เปลี่ยนถ่าน)
เป็นกลไลแบบที่แพร่หลายที่สุด ถูกที่สุดในบรรดา3กลไกนี้ โดยเกิดทีหลังสุด (ช่วงปี70) แหล่งพลังงานแน่นอนว่ามาจากถ่าน

2.  Automatic (ไขลานออโต้ ไม่มีถ่าน)
เป็นกลไก mechanic แต่ไขลานตัวเองแบบอัตโนมัติ โดยปัจจุบันมี Rotor เป็นตัวหมุนขึ้นลาน แหล่งพลังงานมาจาก main spring

3. Manual Winding (ไขลานด้วยมือ ไม่มีถ่าน)
เป็นกลไก mechanic ที่เก่าแก่ที่สุด และผู้ใส่ต้องไขลานนาฬิกาด้วยมือตัวเอง แหล่งพลังงานมาจาก main spring

กลไกก็เหมือนกับจิตวิญญาณของนาฬิกา ถึงจะหน้าตาสระสวยแค่ไหน แต่ถ้าข้างในกลวงเปล่าก็ไม่มีค่าอะไร

1.) กลไก Quartz เป็นกลไกที่เกือบทำให้ นาฬิกา Swiss สูญพันธุ์ไปแล้ว เพราะมีต้นทุนการผลิตที่ถูกมาก และแม่นยำกว่ากลไก mechanic

Seiko ถือเป็นหัวหอกสำคัญในการนำกลไกนี้สู่ตลาด โดยเฉพาะในช่วง วิกฤต Quartz Crisis (ปี70-80) ที่ทำให้ แบรนด์ Swiss หลายร้อยแบรนด์ ถึงกับต้องปิดตัวไป

แต่ผู้ที่มากอบกู้ นาฬิกา Swiss คือกลุ่ม Swatch ที่พัฒนานาฬิการะบบ Quartz ราคาถูกขึ้นมาใช้ ทำให้อุตสาหกรรมนาฬิกาSwiss รอดมาได้

นาฬิกา Quartz ใช้ถ่านเป็นแหล่งพลังงาน โดยถ่านส่งพลังงานไฟฟ้าไปแร่ Quartz เพื่อให้วงจรภายในจับสัญญาณการสั่นไหวของแร่ในการนับเวลา

นาฬิกากลไกนี้มักจะมีราคาไม่แพง และเป็นที่แพร่หลายมากที่สุ



2.) กลไก Automatic เป็นกลไลที่นักสะสมนาฬิกา หรือ ผู้ที่ติดตามสนใจวงการนาฬิกานิยมเลือกหามากที่สุด เพราะเป็นกลไกที่เป็นทั้ง mechanic มีความซับซ้อน และไม่ต้องไขลานด้วยมือ ทำให้สะดวกสำหรับชีวิตประจำวัน

กลไกนี้เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่20 ภายในจะมี main spring เป็นแหล่งพลังงาน ส่วนการขึ้นลานจะเป็นหน้าที่ของ Rotor (แผ่นครึ่งวงกลมสีทอง ในรูป) ที่จะหมุนไปมาตามการเคลื่อนไหวของผู้ใส่ ทำให้เราต้องเก็บนาฬิกาประเภทนี้ในกล่องนาฬิกาแบบพิเศษที่ต้องหมุนตลอดเวลา

นาฬิกา Automatic มักจะเก็บพลังงานได้ประมาณ 38-70 ชั่วโมงเมื่อไขลานเต็มที่ แต่อย่างที่บอกว่าถ้านาฬิกานั้นได้ขยับอยู่เรื่อยๆ rotor มันก็จะขึ้นลานเองของมันอัตโนมัติ และเมื่อขึ้นเต็มลานภายในก็จะมี clutch ที่คอยเช็คว่าขึ้นลานเต็มยังถ้าเต็มก็ตัด

แต่ถ้าลานหมดก็สามารถหมุนไขลานด้วยมือเพื่อให้กลไกเริ่มทำงานใหม่ได้


3.) กลไก Manual Winding เป็นกลไลแบบที่เก่าแก่ที่สุด โดยกำเนิดขึ้นมามากกว่า 200ปีที่แล้ว ผู้ใส่ต้องไขลานเองเพื่อให้นาฬิกาเดิน โดยทั่วไปถ้าไขลานเต็มแล้วจะเก็บพลังงานใน main spring ไว้ใช้ได้ 38-70 ชั่วโมง

ในอดีตการไขลานต้องมีกุญแจเสียบเข้าไปที่ตัวเรือนเพื่อไข แต่ทุกวันนี้เราไขลานจากเม็ดมะยมด้านข้างของตัวเรือน

กลไกนี้เรียกได้ว่าเป็นกลไกที่ทนทานที่สุด ถ้าดูแลรักษาดีๆสามารถส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นได้เลยทีเดียว นักสะสมนาฬิกาจริงจังมักจะต้องมีนาฬิกากลไกนี้อย่างน้อยสัก1เรือ


Vacheron Constantin: Traditionelle Perpetual Calendar Chronograph

เป็นนาฬิกากลไก Manual Winding ที่มี complication พิเศษ ทั้ง Chronograph (จับเวลา) , Moon phase (ข้างขึ้นข้างแรม) และ Perpetual Calendar (ปฎิทิน)

นาฬิการะดับท๊อปๆของแบรนด์ Super Hi-end ทั้ง Patek Philippe, A. Lange & Sohne, Vacheron Constantin ต่างก็ทำนาฬิการุ่นท๊อปๆออกมาชนกัน โดยมักจะต้องเป็นกลไกไขลาน และมี Complication แบบ chronograph สำหรับจับเวลา

เรือนนี้ ราคาประมาณ $150,000 หรือ คิดเป็นเงินไทยก็ตก 4.8 ล้านบาท

Bottom Ad [Post Page]